วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การละเล่นพื้นเมืองภูเก็ต

การละเล่นพื้นเมืองภูเก็ต


การละเล่นเพื่อความบันเทิงของชาวภูเก็ตได้แก่ ตนโย้ง รองเง็ง ลิเกป่า หนังตลุง มโนราห์ ลิเก เป็นการละเล่นที่ได้นำมาแสดงในงานรื่นเริงต่าง ๆ และเลือกมาแสดงหรือละเล่นกันตามเชื้อสายเดิมของกลุ่มคนในละแวกหนึ่ง ๆ ชาวภูเก็ตเชื้อสายมาเลย์นิยมให้มีการเล่นรองเง็ง ตนโย้ง หรือลิเกป่า ในขณะที่ชาวภูเก็ตเชื้อสายไทยนิยมลิเก หนังตะลุง หรือมโนราห์ เหล่านี้เป็นต้น

ปัจจุบัน การละเล่นที่กล่าวมานี้เสื่อมความนิยม ที่ยังคงเหลืออยู่ก็มีการดัดแปลงประยุกต์จนผิดเพี้ยนไปจากเดิม เช่น นำรองเง็งมาดัดแปลงท่าร่ายรำให้มีกระบวนท่าสวยงามและมีความพร้อมเพรียง หนังตลุง มโนราห์ ลิเก นำเอาดนตรีประเภทสตริงมาใช้มีนักร้องและหางเครื่องเล่นเป็นการโหมโรงเรียกผู้ชม ตลอดจนการประยุกต์เรื่องหรือบทที่นำมาเล่น ตนโย้ง ลิเกป่า เป็นสิ่งซึ่งหาดูได้ยากขึ้น เพราะไม่มีใครนพมาเล่นหรือนำมาร่วมรายการแสดงในเทศกาลรื่นเริงต่าง ๆ ของชาวภูเก็ตเป็นเวลาหลายปีมาแล้ว

ส่วนการละเล่นของเด็ก ๆ ชาวภูเก็ตนั้น เด็กรุ่นเก่าจะรู้จักชื่อการละเล่นเหล่านี้ ได้แก่ อีฉุด ทอยราว ราวเด้อ อาว่าย ขว้างโผล้ เข้นังยอง นางชี หมากขุม เตย โตก (ซ่อนหา) ฯลฯ ในขณะที่เด็กรุ่นใหม่อาจไม่เคยได้ยิน หรือแทบจะไม่รู้จักการละเล่นเหล่านี้เลย เพราะขาดการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่ง และเครื่องเล่นสมัยปัจจุบันจะดึงดูดความสนใจเด็กรุ่นใหม่ได้มากกว่า ในที่นี้จะนำการละเล่นพื้นเมืองของภูเก็ตมากล่าวไว้พอเป็นตัวอย่างเท่านั้น
อีฉุด
อีฉุด

อีฉุด

เป็นการเล่นที่ใช้เศษกระเยื้องเป็นอุปกรณ์ ผู้เล่นกี่คนก็ได้ ถ้า 2 คนขึ้นไป ก็จะผลัดกันเล่นหรือเป็นกลุ่มก็จะแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม และจะมีการแข่งขันกันในระหว่างผู้เล่น แต่ถ้าเล่นคนเดียวก็จะเป็นการเล่นเพื่อสนุกสนานแก้เหงา

วิธีเล่น ก่อนเริ่มเล่นผู้เล่นจะต้องบอกข้อตกลงหรือกติกาการเล่นให้ทุกคนเข้าใจ และการตัดสินว่าใครจะเป็นผู้เล่นก่อนหรือเล่นหลัง โดยการ ลา ลา หล้า ทุมโบ้ง หรือที่เรียกในภาษากลางว่า “ชันชี” จากนั้น ผู้เล่นจะขีดเส้น และกำนหนดขอบเขตที่เล่น ผู้ที่ชนะในการ ลา ลา หล้า ทุมโบ้ง จะเริ่มเล่นก่อนโดยใช้เศษกระเบื้อง “ทอย” หรือ “โยน” เข้าไปในขอบเขตนั้น ผู้เล่นจะต้องเขย่งกระโดดขาเดียว และใช้ขาข้างที่เป็นหลักในการทรงตัวนั้น กระโดดเตะ หรือภาษาภูเก็ตเรียกว่า “ฉุด” ให้เศษกระเบื้องนั้นเคลื่อนที่ออกมาจากเขตแดนหนึ่ง ๆ จนครบ คือ ผ่านหมดทุกเขต ถือว่าชนะ ถ้าใครเสียหลักในการทรงตัวก็ถือว่าแพ้ ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งเล่นต่อไป และผู้เล่นคนใหม่ก็ต้องเริ่มต้นใหม่ในการทอย และเขย่งกระโดดขาเดียว เข้าไป “ฉุด” กระเบื้อง “ทอย” ด้วยเท้าที่กำลังเขย่งกระโดดเช่นเดิม ฝ่ายใดทำสำเร็จก่อนจะเป็นผู้ชนะ

ทอยราว

เป็นการเล่นที่นิยมเล่นในกลุ่มเด็กผู้ชาย อุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นได้แก่ เม็กมะม่วงหิมพานต์ที่ยังไม่ได้กะเทาะเมล็ดออก ไม้ไผ่ผ่าซีก ก้อนอิฐ

วิธีเล่น ผู้เล่นจัดเรียงเม็ดมะม่วงหิมพานต์บนไม้ไผ่ผ่าซีก ซึ่งวางให้สูงจากพื้นโดยแผ่นอิฐ กำหนดระยะสำหรับให้ผู้เล่นใช้ความแม่นยำในการเล็ง และขว้างเม็ดมะม่วงที่วางอยู่บนรางไม้ไผ่ให้หล่นจากราง โดยใช้เม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ผู้เล่นคัดเอามาใช้ขว้าง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่หล่นจากรางจะเป็นของผู้ขว้างได้ ผู้เล่นจะผลัดกันขว้างจนหมดราว เมื่อจะเล่นใหม่ก็จะนำเม็ดมะม่วงหิมพานต์มาลงกองกลางกันใหม่ เพื่อผลัดกันใช้ความแม่นยำกันอีก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น