วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

คลื่นยักษ์สึนามิภูเก็ต

คลื่นยักษ์สึนามิภูเก็ต

คลื่นยักษ์สึนามิภูเก็ต
คลื่นยักษ์สึนามิภูเก็ต

จังหวัดภูเก็ตเคยสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สิน เพื่อปกป้องมิให้ผู้ใดมาข่มเหงรังแกโดยไม่เป็นธรรมมาโดยตลอด ครั้งที่มีการสูญเสียมากครั้งแรก คือ ศึกพม่าในสงคราม 9 ทัพ ที่ยกมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้และเมืองภูเก็ต ในชื่อของเมืองถลาง ต้องเสียกำลังผู้คนมากมายเพื่อปกป้องแผ่นดินในคราวศึกถลาง 2328 แม้จะได้รับชัยชนะแต่ก็บอบช้ำแสนสาหัส การสูญเสียครั้งที่ 2 สงครามพม่าในปี 2352 ครั้งนี้แม้พระยาถลาง (เทียน) จะเตรียมป้องกันเมืองอย่างเต็มที่ แต่ก็เสียทีแก่ข้าศึกซึ่งมีกำลังพลมหาศาล ผู้คนได้รับความเดือดร้อนถูกครอกไฟตายทั้งเป็น ถูกจับเป็นเชลย บ้านเมืองเสียหายเหลือคณานับ ผู้คนล้มตาย ดังจดหมายเหตุมลายู-ไทย ที่ร่วมรบพม่าที่ถลางว่า

สยามได้สาลังคืนกลับมา แต่สาลังก็เสียหายยับเยิน พยายมราชจึงเกณฑ์พวกสยามขึ้นบกทุกคน เพื่อบำรุงซ่อมแซม และบูรณะบ้านเมืองใหม่

การสูญเสียครั้งที่ 3 คือ การเผาโรงงานแทนทาลั่ม เป็นการสูญเสีย อันเนื่องมาจากการสื่อสาร ระหว่างรัฐบาลกับประชาชนไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความเข้าใจผิด กลายเป็นความแค้น ที่สร้างความสูญเสียให้กับทุกฝ่าย

การสูญเสียครั้งที่ 4 คือ การสูญเสียครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2547 เป็นความหายนะ ที่ไม่มีการเตรียมตัว ไม่มีการเตรียมป้องกัน ทุกอย่างเกิดขึ้นกะทันหัน เกินกว่า จะเตรียมการป้องกัน ความสูญเสียครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 ได้เกิดภัยพิบัติ ภัยครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์โลก นับเป็นคลื่นยักษ์ลูกแรกที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย ก่อให้เกิดความสูญเสียใหญ่หลวง เพราะทุกคนไม่เคยรู้จักกับคลื่นยักษ์สึนามิ บางคนอาจจะเคยอ่านหรือเคยดูสารคดีเกี่ยวกับคลื่นยักษ์ในมหาสมุทรแปซิฟิก

แต่ทุกคนคิดว่ามันเป็นเรื่องไกลตัว และคงไม่เกิดขึ้นในบ้านเราอย่างแน่นอน จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในระดับอันตราย 9 ริกเตอร์ ซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณตอนเหนือของเกาะสุมาตรา คือ บริเวณจังหวัดอาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งบริเวณนี้อยู่ห่างจากจังหวัดภูเก็ตไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 300-400 กิโลเมตร เวลาประมาณ 09.00 น. คลื่นจากทะเลอันดามันได้เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็ว เข้าสู่ฝั่งหาดทรายของจังหวัดต่างๆ 6 จังหวัด คือ ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง สตูล และระนอง ซึ่งอยู่ริมทะเลอันดามัน โดยเฉพาะในจังหวัดภูเก็ตมีผลกระทบที่บริเวณหาดป่าตอง กมลา กะตะ กะรน หาดในยาง เป็นผลให้น้ำทะเลไหลเข้าท่วมบ้านเรือนที่อยู่ริมฝั่ง และกวาดทุกสิ่งทุกอย่างลงสู่ทะเล ประชาชนส่วนหนึ่งที่วิ่งหนีทันก็รีบวิ่งขึ้นที่สูง เช่น เขานาคเกิด เขาโต๊ะแซะ เขารัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น