วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

นางจิ้ว ประโมงกิจ

นางจิ้ว ประโมงกิจ

นางจิ้ว ประโมงกิจ
นางจิ้ว ประโมงกิจ

นางจิ้ว ประโมงกิจ สืบเชื้อสายมาจาก เผ่าโอรังลาโอด ซึ่งเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมที่เร่ร่อนอยู่ในทะเลอันดามัน และได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เกาะสิเหร่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ได้พระราชทานนามสกุลใหม่ให้เผ่าชาวเลใต้ที่เกาะสิเหร่ว่า “ประโมงกิจ” ครอบครัวนายอาจ และ นางจำปา จึงได้ใช้นามสกุล “ประโมงกิจ” นางจิ้ว ประโมงกิจ เป็นบุตรีคนสุดท้อง เร่ร่อนตามพ่อและแม่ ทำมาหากินในท้องทะเลอันดามัน ยามว่างก็มีโอกาสเรียนการร่ายรำที่เรียกว่า “รองเง็ง” จากยายปาซิ้ว ซึ่งเป็นผู้มีความสามารถรำรองเง็งของกลุ่มชาวเล ผู้ที่สามารถจำบทเพลง และท่วงทำนองการร่ายรำได้มากที่สุด นางจิ้ว จึงได้รับความไว้วางใจให้เป็นแม่แบบ ในการถ่ายทอดท่ารำให้แก่ครู นักเรียน ในโรงเรียนต่างๆ เช่น โรงเรียนสตรีภูเก็ต โรงเรียนพิบูลสวัสดี โรงเรียนบ้านเกาะสิเหร่ โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา เป็นต้น

ผลงานและรางวัลที่ได้รับ

1. ได้รับรางวัลชนะเลิศในการรำรองเง็งของจังหวัดสตูล เมื่อ พ.ศ.2520
2. เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รำรองเง็งถวายในพระตำหนักสวนจิตรลดา เมื่อปี พ.ศ.2521
3. รำรองเง็งถวาย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อพระองค์เสด็จเยี่ยมเผ่าชาวเลใต้ ที่เกาะสิเหร่ พ.ศ.2533
4. นักอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น สาขาดนตรีและนาฏศิลป์ ประจำปี พ.ศ.2535 ของคณะอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย
5. รับพระราชทานโล่และเข็มเกียรติคุณอนุรักษ์มรดกไทย จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อ 17 กรกฎาคม 2535 ณ พระตำหนักสวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร
6. ได้ดำเนินงานทางด้านการร้อง และรำรองเง็ง เพื่อนันทนาการบันเทิง มาตั้งแต่ พ.ศ.2488 จนถึงปัจจุบัน หากนับในช่วงวัยรุ่นที่ร่วมรำกับคณะรองเง็งชุดเก่าก็มากกว่า 50 ปี
7. เป็นหัวหน้าคณะรองเง็งชาวเกาะสิเหร่ที่มีชื่อเสียงมาก
8. มีความสามารถในการดั้นกลอนสดเป็นทำนองเพลงรองเง็ง มีปฏิภาณไหวพริบที่ต่อกลอนเพลงรองเง็ง ในช่วงวัยรุ่นและวัยสาว สามารถรำ “ลงตงห้อย” อันเป็นนาฏศิลป์รองเง็งที่ยอดเยี่ยม สามารถร้องเพลงรองเง็งนับเป็นร้อยๆ เพลงโดยไม่ซ้ำเนื้อเพลงได้ตลอดทั้งคืน

ชื่อเพลงที่คณะรองเง็งของนางจิ้ว ประโมงกิจนิยมร้องขณะเต้นรองเง็ง ได้แก่
วูก้าลากูตัว มะอีนัง อะนะอีกั้น (อะนะ-ลูก อีกั้น-ปลา)
บุรงบูเต้ (บุรง-นก บูเต้-ขาว)
อายัมดิเด๊ะ (ไก่ชนหรือไก่แจ้)
เจ๊ะมามาด (นายมะหะหมัด)
สปาอีตู้ (นั่นใคร)
ตะล็อกต๊อกต๊อก ยีวา มะแน
(ยีวา-หญิง มาแนะ- หน้าหวาน)
ซิตี้ปาโยง (ซิตี้-นางปาโยง-กางร่ม)
เจ๊ะซูโร่ง ซิราเยาะ ประฮูงาซิเจ๊ะ ปากูแกลั่ง ราไวย์แประ สิเรปีนัง สายันกาโยะซำปาย่า ลิงั่งกังโก่ง งีเละ ตารังบุหลัน (ชมเดือน)
สปันกาโย (พายเรือจีบกัน)
โอลานัง (จีบสาว)
เจะโซโล๊ะ(ลูกคนสุดท้อง)
ซูปะอีตู้ (เพื่อนกัน)
นาซิอีนัง (เต้นระบำ)
ตะลักตักตัก (เต้นให้-มันสนุกสนาน)
ซินาโน่ง (บทแปลของเพลง)
หัดสั้นตันโย้ง (เป็นเพลงที่ชาวเลร้องเป็นครึ่งภาษาไทย ปนภาษาชาวเล)
ตาร่าย (เป็นเพลงที่บรรเลงล้วนๆ ไม่มีเนื้อร้อง)
หาดยาว ลินติ้ง ซาเจ้าะ ลากี้ อะซัมปาย่า (เด็ดลูกระกำ)
ซุปาอีตู้ โอสานัง (รักกันวอนขอช่วย)
บุรงติมัง (นกสมดูล)
ยีวามานี่ (หญิงอ่อนโยน)
ปลาฮูงาจิ (เรือลำใหญ่ในเลถูกคลื่นใหญ่)
ปากูแกลัง (ต้นไม้ชนิดหนึ่งกินผลแล้วเมา)
สิเรปีนัง (หมากพลู) เป็นต้น

เมื่อ เปี๊ยก โปสเตอร์ สร้างภาพยนตร์เรื่อง “สะพานรักสารสิน” ได้เชิญ นางจิ้ว ประโมงกิจ นำคณะรองเง็งเกาะสิเหร่เข้าแสดง และมีโอกาสร่วมแสดงละครโทรทัศน์เรื่อง “มัสยา” และรายการบ้านทุ่งพัฒนา

นางจิ้ว ประโมงกิจ ผู้ได้รับการขนานนามว่าเป็น “แม่เพลงแห่งฝั่งทะเลอันดามัน”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น