วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การละเล่นพื้นเมืองภูเก็ต

การละเล่นพื้นเมืองภูเก็ต

เนื่องจากชาวภูเก็ตที่ไม่นิยมจดบันทึกวรรณกรรมพื้นบ้านไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หากแต่ใช้การจดจำและเล่าสืบต่อมา อาจเป็นเพราะยุคก่อนผู้คนยังไม่ได้รับการศึกษามีผู้อ่านออกเขียนได้น้อยมาก เมื่อเวลาผ่านไปนานเข้า จึงหลงลืมเลอะเลือนไปในที่สุด เช่นบทร้องของยี่เกรำมะนา เรื่องพระยาราชกปิตัน ซึ่งเป็นนายเรือชาวอังกฤษแต่งงานกับสาวชาวภูเก็ต แล้วรับภรรยาเดินทางไปยังเมืองกัลกัตตา เล่ากันว่า บทร้อยหรองสำหรับการขับร้องของตัวเอกของเรื่องนี้มีความไพเราะ และมีชั้นเชิงศิลปะการใช้ถ้อยคำที่น่าสนใจมาก แต่ปัจจุบันหาผู้จดจำมิได้อีกแล้ว วรรณกรรมที่หลงเหลือเป็นลายลักษณ์อักษรที่พอจะหาดูได้ในปัจจุบัน ได้แก่ หนังสือบุด ซึ่งศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถานบันราชภัฏภูเก็ตกำลังรวบรวม โดได้รับความร่วมมือจากผู้ที่มีไว้ในครอบครอง บริจาคไว้เพื่อให้ศึกษาทางศูนย์ศิลปวัฒนธรรมได้นำมาปริวรรต และพิมพ์อัดสำเนาออกเผยแพร่แก่ผู้ที่สนใจไปบ้างแล้ว เช่น หนังสือบุดช้างน้อย เรื่องพิเภกสอนบุตร พาลีสอนน้อง สวัสดิรักษา เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีผู้รวบรวมปริศนาคำทาย ที่ชาวภูเก็ตรุ่นเก่านำมาเล่นทายกัน และจัดพิมพ์อัดสำเนาเผยแพร่ เช่น ปริศนาคำทายจากบ้านม่าเหลา บ้านในทอน บ้านบางเทา บ้านลิพอน บ้านบ่อแร่ นางบุญนาค ศรีอักษร ได้รวบรวมนิทานพื้นบ้านภูเก็ตโดยการสัมภาษณ์และจัดพิมพ์อัดสำเนาได้หลายเรื่อง เช่น นิทานตายมดึง นิทานพ่อตาโต๊ะแซะ นิทานขี้เดินได้ นิทานเขานางพันธุรัตน์

วรรณกรรมพื้นบ้านที่ยังไม่ได้บันทึก ยังมีอื่น ๆ อีกมาก เช่น ปริศนาคำทาย สุภาษิตคำพังเพย ลายแทง เพลงเปล (เพลงกล่อมเด็ก) ตนโย้ง เพลงนา นอกจากนี้ จดหมายเหตุเมืองถลางตัดเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อันมีค่ายิ่งของชาวภูเก็ต เป็นเรื่องราวของเมืองถลางในช่วง พ.ศ.2319 ถึง พ.ศ.2336 รวม 48 ฉบับ เป็นจดหมายที่ขุนนางเมืองถลาง เขียนถึงกัปตันฟรานซิส ไลท์ ที่เมืองปีนัง ด้วยภาษาที่ใช้ในเมืองถลางสมัยนั้น สำนวนภาษาที่ใช้เป็นเอกลักษณ์ของชาวภูเก็ตอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น