วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ

เครื่องมือเครื่องใช้ในการประกอบอาชีพ

สมัยก่อนชาวภูเก็ตต้องใช่วัสดุในท้องถิ่นจักทำเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนขึ้นเองหรืออาจหาซื้อจากผู้มีฝีมือในการทำเครื่องมือเครื่องใช้เหล่านี้ออกจำหน่าย ได้แก่ หม้อดินเผา กระบวยตักน้ำ ทัพพีกะลามะพร้าว กระบุงตะกร้าไม้ไผ่ กระสอบเสื่อจากใบเตย สอบมุก กล่องใส่ของกระจุกกระจิก กันหม้อที่รองก้นหม้อสานด้วยเรียวมะพร้าว เตาไฟก่อขึ้นจากดินเหนียวอัดแน่นเป็นที่รองรับก้อนเส้า สำหรับชาวภูเก็ตที่มีฐานะดีจะก่อเตาไฟด้วยอิฐถือปูน (ภูเก็ตเรียก “โพ”) เชื้อเพลิงที่ใช้ในการหุงต้ม ได้แก่ ไม้ฟืนหรือเศษไม้ที่พอหาได้ในบริเวณใกล้บ้าน ต่อมาเชื้อเพลิงที่ใช้กับเตาไฟ ได้พัฒนาจากไม้ฟืนเป็นถ่านไม้ทะเลและถ่านไม้ตอน เกิดขึ้นจากการติดต่อค้าขายกับเมืองปีนังบางครอบครัวชาวจีนถือว่า เตาไฟหรือโพ เป็นที่สำหรับหุงหาอาหารจะแสดงการลบหลู่ดูหมิ่นไม่ได้ และจะมีจะมีกาทำพิธีบูชาเตาไฟด้วย

เครื่องมือในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม

เครื่องมือทำสวนมะพร้าว เช่น มีดเกี่ยวมะพร้าว มีดปอกมะพร้าว ลิงขึ้นมะพร้าว มีดพร้า จอบ และเสียม ฯลฯ

เครื่องมือทำสวยยางพารา เช่น มีดกรีดยาง ไฟส่องหน้ายาง กะลารองรับน้ำยาง ถังใส่น้ำยาง เครื่องรีดแผ่นยาง ฯลฯ

เครื่องมือทำนา เช่น ไถ คราด แกะเก็บข้าว (เครื่องมือเก็บข้าวที่ละรวง) กระเชอ กระด้ง ครกตำข้าว ครกสีข้าว ฯลฯ

เครื่องมือปลูกผัก เช่น กระบวยตักน้ำรดผัก ถังไม้ใส่ปุ๋ยคอก คราดไม้ไผ่ จอบดายหญ้า ฯลฯ

เครื่องมือเลี้ยงหมู เช่น คอกหมู ซึ่งกั้นคอกด้วยต้นมะพร้าวที่นำมาเลื่อยเป็นท่อน ๆ รางข้าวหมูซึ่งนำไม้มาขุดทำเป็นรางข้าว มีดหั่นหยวกกล้วยอาหารหมู (ลักษณะโค้งเหมือนพระจันทร์เสี้ยว มีมือถือสองข้าง) ฯลฯ

เครื่องมือประมงชายฝั่ง เช่น เรือ พาย แห เบ็ด อวน ไซ ลอบ กัด หยองตกปู ข้องใส่ปลา ฯลฯ เครื่องมือในการประกอบอาชีพร่อนแร่

ชาวภูเก็ตที่ไม่มีทุนทรัพย์พอแก่การทำเหมืองแร่ สามารถหาแร่เพื่อการยังชีพด้วยการร่อนแร่และขุดหาแร่ในบริเวณนอกเขตสัมปทานที่คาดว่ามีแหล่งแร่ หรือได้รับอนุญาตจากผู้ได้รับสัมปทานในการทำเหมืองแร่ให้ร่อนแร่ท้ายรางเหมืองสูบ ผู้ที่หาแร่ดีบุกด้วยวิธีนี้ ต้องมีใบอนุญาตจากสำนักงานทรัพยากรธรณีจังหวัด ให้ทำการร่อนแร่หรือขุดหาแร่นอกเขตสัมปทานได้ปีต่อปี เครื่องมือที่ใช้หาแร่แบบนี้ได้แก่ เลียงร่อนแร่ เหล็กขุด กะลาใส่แร่ หมวกกุ้ยเล้ย ผ้าโพกหัว เสียม (เหล็กแล่ง) ค้อนแบบตะขอเหล็ก ฯลฯ ปัจจุบันอาชีพนี้ยังคงมีทำกันบ้างเล็กน้อยไม่เหมือนแต่ก่อน ผู้มีทุนทรัพย์จะขอสัมปทานทำเหมือนแร่โดยใช้เครื่องจักรและว่าจ้างคนงาน (ถ้าเป็นระดับกรรมกรจะเรียกว่ากุลีเหมือง)

เหมืองแร่ดีบุกที่นิยมทำกันในสมัยก่อนมีหลายแบบ เช่น เหมืองหาบ เหมืองสูบ เหมืองฉีด เหมืองรู เป็นต้น มายุคหลังประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา กิจการเหมืองแร่ซึ่งดำเนินงานโดยชาวต่างประเทศได้หยุดชะงัก ทำให้ประชาชนบางกลุ่มตื่นตัวเรื่องการทำแร่ในทะเล และนำวิธีการแบบเรือขุดแร่ของบริษัทต่างประเทศมาใช้ คือ เครื่องจักรดูดแร่ในทะเลขึ้นมา ที่มีทุนน้อยก็ใช้วิธีดำน้ำหาแหล่งแร่ เมื่อพบก็ใช้วิธีตักขึ้นมา ซึ่งต้องอาศัยผู้ชำนาญในการดำน้ำ ปัจจุบันแร่ดีบุกกำลังจะหมดไป ฉะนั้นเหมืองแร่ขนาดใหญ่จึงต้องปิดกิจการ ยังคงมีการทำเหมืองแร่กันบ้าง ก็เป็นเหมืองแร่ในทะเล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น