วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีแต่งงาน

ประเพณีแต่งงาน


ประเพณีแต่งงานของชาวภูเก็ต มีลักษณะผสมผสานกันทั้งจีน ไทย ฝรั่ง กลายเป็นไทยนิด จีนหน่อย ฝรั่งกลาย คือนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม ปัจจุบันการแต่งงานแบบไทย มีการหมั้นหมายและทาบทามสู่ขอเพื่อตกลงกำหนดวันพิธีขันหมาก ทำพิธีสงฆ์ หลั่งน้ำพระพุทธมนต์แก่คู่บ่าวสาว เลี้ยงฉลองและส่งตัวเข้าหอ มีพิธี “เวียนสาดเวียนหมอน” คือ เชิญคู่สามีภรรยาที่ครองคู่กันอย่างราบรื่นเป็นผู้ทำพิธีให้ การแต่งงานแบบจีนเดิมยึดถือประเพณีจีน แต่งตัวแบบจีนเจ้าสาวคลุมหน้าคลุมตา จะได้เห็นหน้าตอนเข้าหอ มีการคารวะผู้ใหญ่หลายครั้งหลายหนการทาบทามการหมั้น เป็นเรื่องของผู้ใหญ่ทั้งสิ้น

การแต่งงานของชาวภูเก็ตส่วนใหญ่ เมื่อหนุ่มสาวชอบพอรักใคร่ ก็จะให้ผู้ใหญ่ไปสู่ขอและทำการหมั้นหมาย นัดวันแต่งงาน บางคู่มีการหมั้นและแต่งงานในวันเดียวกัน วันทำพิธีแต่งงาน ฝ่ายเจ้าบ่าวยกขบวนแห่ (ขบวนรถยนต์) ไปบ้านเจ้าสาว มี พัวเกี๋ย (เพื่อนเจ้าบ่าว) ไปเป็นเพื่อนเจ้าบ่าว ยิ่งมากยิ่งดี มีการจุดประทัดต้อนรับเจ้าบ่าวอาจมีพิธีสงฆ์หรือไม่มีก็ได้ ในช่วงเช้าจะเริ่มพิธีคู่บ่าวสาวคารวะญาติผู้ใหญ่ด้วยการเชิญดื่มน้ำชา (เจี๊ยะเต๋) มีผู้เรียกขานชื่อญาติตามลำดับชั้น เข้ารับน้ำชาจากคู่บ่าวสาวในช่วงนี้ญาติพี่น้องจะให้เงินทองทรัพย์สินแก่คู่บ่าวสาว ปัจจุบันนิยมทำในตอนเย็นก่อนงานเลี้ยงตอนค่ำ กลางคืนมีพิธีส่งตัวเข้าหอ คู่บ่าวสาวในสมัยก่อนนิยมแต่งกายด้วยชุดครุยเจ้าบ่าวแต่งสูทแบบสากล หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา เจ้าสาวนิยมแต่งกายด้วยชุดราตรีสีขาวแบบฝรั่ง (ภูเก็ตเรียกว่า “ชุดบุ่นเบ๋ง”) เจ้าบ่าว สวมสูทแบบสากล

การแต่งงานแบบมุสลิม ชาวมุสลิมนิยมหาคู่หมั้นไว้ให้ลูกหลายของตนไปแต่งงานกับคนต่างศาสนา แต่ปัจจุบันการคบหาสมาคมกวางขวางขึ้น ทำให้การแบ่งแยกศาสนาในเรื่องคู่ครองลดความเข้มงวดลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น