วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ศึกอั้งยี่ในภูเก็ต

ศึกอั้งยี่ในภูเก็ต ผลประโยชน์มหาศาลจากแร่ดีบุกดังกล่าว ทำให้ชาวจีนที่อพยพเข้ามาเพื่อสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ เกิดความขัดแย้งในการแบ่งปันผลประโยชน์ไม่เป็นไปด้วยความยุติธรรม ขาดการควบคุมจากรัฐบาลกลาง จนเกิดจลาจลวุ่นวายในปี พ.ศ.2419 ซึ่งเรียกว่า ศึกอั้งยี่ การเกิดศึกครั้งนี้เกิดจาก พระยาวิชิตสงคราม (ทัต)ได้ชักชวนพ่อค้าชาวจีนมาลงทุนค้าขายและทำเหมืองแร่ดีบุกอย่างกว้างขวาง จึงสามารถเก็บภาษีอากรได้มากกว่าเมืองถลางและหัวเมืองอื่น ๆ ทางชายฝั่งทะเลของตะวันตก ทำให้เมืองภูเก็ตเจริญชึ้นอย่างรวดเร็ว

ศึกอั้งยี่ในภูเก็ต
ศึกอั้งยี่ในภูเก็ต


แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยในเมืองภูเก็ตและมีผลกระทบต่อรายได้ภาษีอากร เมื่อเกิดจลาจลพวกอั้งยี่ (หรือวุ่นจีน) ทะเลาะวิวาทแย่งชิงหลุมแร่ และแย่งชิงสายน้ำล้างแร่ จนถึงขั้นสู้รบจนเกิดจราจลหลายครั้ง โดยเฉพาะในปี พ.ศ.2419 พวกอั้งยี่ก่อการจลาจลวุ่นวายแก่เมืองภูเก็ตอย่างหนัก ทำร้ายประชาชนและเผาบ้านเรือน

จนทำให้ประชาชนและหน่วยงานราชการต้องออกมาต่อสู้กับพวกอั้งยี่หลังการปราบอั้งยี่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปูนบำเหน็จรางวัลแก่ เจ้าหมื่นเสมอใจราช (ชื่อ บุนนาค) เป็น พระยามนตรีสุริยวงศ์ จางวางมหาดเล็กและพระราชทานสมณศักดิ์ให้ท่านเจ้าอาวาสวัดฉลอง เป็น พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี ให้มีตำแหน่งเป็นสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต คนทั่วไปเรียกท่านว่า“พ่อท่านสมเด็จเจ้า”

ปัญหาอั้งยี่จีน ทำให้ทางฝ่ายเจ้าเมืองต้องยอมรับฐานะ และบทบาทของกลุ่มชาวจีนด้วยการแต่งตั้งหัวหน้าขึ้นเป็นกรมการเมืองพิเศษ ตำแหน่งปลัดฝ่ายจีน และนายอำเภอจีนขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น