วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การตั้งถิ่นฐานในภูเก็ต

การตั้งถิ่นฐานในภูเก็ต

การตั้งถิ่นฐานในภูเก็ต
การตั้งถิ่นฐานในภูเก็ต

นายพรชัย สุจิตต์ ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในภูเก็ต ในงานสัมมนาประวัติศาสตร์ถลางในปี พ.ศ.2527 ว่า “น่าเสียดายที่เราไม่พบแหล่งที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ บนเกาะนี้”

การพบร่องรอยของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ เป็นการแสดงถึงการเริ่มถ่ายทอดวัฒนธรรมสู่ดินแดนนี้ ร่องรอยของมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ในละแวกนี้ จะพบบริเวณอ่าวพังงา เช่นภาพเขียนสีที่เขาเขียน ภาพเรือไวกิ้งที่ถ้ำไวกิ้ง ภาพเขียนสีที่ถ้ำผีหัวโต จังหวัดกระบี่ และโครงกระดูกที่ถ้ำหลังโรงเรียน ตำบลทับปริก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ การที่นักโบราณคดีไม่พบร่องรอยทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์อาจจะเป็นเพราะจังหวัดภูเก็ตตั้งอยู่ด้านนอกของชายฝั่งทะเล คลื่นลมมรสุมพายุรุนแรงกว่าจังหวัดใกล้เคียง ไม่เหมาะที่จะตั้งถิ่นฐาน ประกอบกับลักษณะทางธรณีวิทยาของขังหวัดภูเก็ต เป็นหินแกรนิต ไม่ใช่หินปูน การเกิดโพรงถ้ำเหมาะที่จะเป็นที่อาศัยหลบลมจึงมีน้อยซึ่งแตกต่างจากจังหวัดพังงา บริเวณที่พบหลักฐาน มักจะเป็นโพรงถ้ำหินปูน ลักษณะภูมิประเทศเป็นอ่าว กำบังลมพายุในหน้ามรสุมได้ดี

ภูเก็ตเป็นดินแดนที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์มาตั้งแต่อดีต ในฐานะเมืองค้าดีบุก นอกจากนี้เกาะภูเก็ตยังใช้เป็นที่พักแวะจอดเรือเพื่อหาอาหารและน้ำจืด และเป็นที่กำบังลมพายุ โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งด้านทะเลตะวันออกของเกาะ เช่น อ่าวฉลอง อ่าวภูเก็ต อ่าวมะขาม นอกจากนี้ภูเก็ตยังอุดมไปด้วยแร่ดีบุก ด้วยสาเหตุดังกล่าว ภูเก็ตจึงเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยและตั้งถิ่นฐานเพียงระยะหนึ่งของบุคคลหลายเชื้อชาติหลายภาษาเท่านั้น จะเห็นได้จากเจ้าเมืองที่เข้ามาปกครองภูเก็ต มีทั้งฝรั่ง จีน แขก ทุกเชื้อชาติที่เข้ามาอยู่ในภูเก็ตต่างก็มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง วัฒนธรรมเหล่านี้ได้สืบทอดถ่ายเทสู่กลุ่มคนในภูเก็ตหลายยุคหลายสมัย จนทำให้วัฒนธรรมภูเก็ต เป็นวัฒนธรรมที่ผสมผสาน ในหลายๆ รูปแบบ จนถึงปัจจุบัน

1 ความคิดเห็น: