วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีเกี่ยวกับภาษาและการพูดจา

ประเพณีเกี่ยวกับภาษาและการพูดจา

การพูดจาระหว่างเพื่อนฝูงที่สนิทรักใคร่ชอบพอกัน มักใช้คำหยาบทักทายกันโดยไม่สนใจว่าผู้ใดจะได้ยิน คนที่ไม่เข้าใจหรือคนต่างถิ่นอาจจะเข้าใจผิดว่าทะเลาะกัน การขานรับการเรียกของผู้ใหญ่ที่ใช้โดยทั่วไป คือ “โอย” “จ๋า” และคำที่ใช้แสดงการเห็นด้วยมักใช้คำว่า “เออ” หรือ “อือ” “จ๊ะ” ถ้าต้องการพูดแสดงถึงความสุภาพลดความกระด้างลงด้วยหางเสียงว่า “อ๊าว” “อื้อ” “น้า” “ต๊า” “อ่า” เป็นต้น

ภูเก็ตไม่มีประเพณีคนรับใช้ที่จะต้องย่อตัวหรือคุกเข่าต่อหน้าเจ้านาย ทุกคนจะยืนหรือนั่งในที่เสมอกันหมด คนขับรถมีสิทธิ์ร่วมโต๊ะอาหารกับนายจ้างได้ ทำให้ข้าราชการที่ได้มีโอกาสมาบริหารจังหวัดภูเก็ตในระดับผู้ปกครอง มักจะมองว่าชาวภูเก็ตเป็นคนกระด้าง

ภูเก็ตยุคปัจจุบัน กำลังพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ผู้คนต่างถิ่นต่างชาติหลั่งไหลมาเที่ยวภูเก็ต มาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินในภูเก็ต อารยธรรมต่างๆ ย่อมหลั่งไหลเข้ามาด้วย และจะต้องกระทบกระเทือนวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ค่านิยม ของท้องถิ่นซึ่งมีอยู่เดิม อันสมควรจะนำมาศึกษา เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ถึงวิวัฒนาการของประเพณีดั้งเดิมของภูเก็ต ซึ่งจะมีส่วนปลูกฝังจิตสำนึก และค่านิยมในการที่จะรักษาวัฒนธรรมของตนมิให้ถูกทำลาย หรือถูกกลืนหายไปจนหาต้นกำเนิดไม่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น