วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีเดินเต่า

ประเพณีเดินเต่า

ประเพณีเดินเต่า
ประเพณีเดินเต่า

เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวภูเก็ต นายสมชาย สกุลทับ ได้อธิบายว่า เดินเต่า คือการเดินหาไข่ที่ขึ้นมาวางไข่บนหาดทราย นิยมกันในบริเวณที่มีเต่าขึ้นมาวางไข่ คือ บริเวณริมหาดชายฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ ทางตะวันตกของเกาะภูเก็ต ทางฝั่งทะเลตะวันตกของอำเภอท้ายเหมือง และอำเภอตะกั่วป่า จังหวัด ประเพณีเดินเต่ามีมานานแล้ว โดยสมัยดั้งเดิมนั้นชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงกับชายหาดต่างๆ นิยมคดห่อ (ห่อข้าว) ไปกินกันที่ชายทะเลในตอนบ่ายๆ และจะอยู่กันจนรุ่งเช้า จุดไฟผิงกันหนาวแล้วก็ถือโอกาสเดินหาไข่เต่า ซึ่งเป็นสิ่งที่หายาก และเป็นอาหารที่โอชะ การเดินเต่านั้นเดินกันได้เฉพาะฤดูเต่าวางไข่เท่านั้น คือ ประมาณเดือน 11 แรม 1 ค่ำ รายปลายเดือนตุลาคม หรือต้นเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือน 11 แรม 1 ค่ำ ราวปลายเดือนตุลาคม หรือต้นเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือน 4 หรือต้นเดือนกุมภาพันธ์ การเดินเต่าในสมัยดั้งเดิม สามารถเก็บไข่เต่ากันได้ทุกคน แต่สมัยหลังๆ รัฐบาลเก็บภาษี โดยให้มีสัมปทานเป็นหาดๆ ไป การเดินเต่าเพื่อเก็บไข่เต่าจึงเป็นสิทธิของผู้รับสัมปทานตามกฎหมาย คนอื่นๆ ไม่มีสิทธิที่จะเก็บได้ เพียงเดินเต่าเพื่อความสนุกสนาน เพื่อดูเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่เท่านั้น

ในช่วงเวลาของการเดินเต่า จะมีผู้คนคึกคักตามชายหาด เพื่อรอดูเต่าวางไข่ เต่าจะมีลักษณะพิเศษประจำ คือ ตัวใดที่เคยมาวางไข่บริเวณใด ก็จะมาประจำบริเวณนั้นและคืนนั้นทุกปี เนื่องจากปัจจุบัน มีการขยายตัวของการท่องเที่ยวเกิดขึ้นทุกชายหาดของภูเก็ต ประกอบกับจำนวนเต่าทะเลลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่ค่อยมีเต่าขึ้นมาวางไข่ตามชายหาดเลย ประเพณีการเดินเต่าจึงเปลี่ยนไปเป็นการตั้งแคมป์พักแรมตามชายหาด เป็นกิจกรรมเพื่อความสนุกสนาน ซึ่งไม่ใช่การเดินเต่าตามความหมายที่แท้จริงดังในอดีต

1 ความคิดเห็น: