วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สภาพทางภูมิศาสตร์ภูเก็ต

สภาพทางภูมิศาสตร์ภูเก็ต

สภาพทางภูมิศาสตร์ของเกาะภูเก็ตเกี่ยวข้องกับลักษณะทางธรณีวิทยา และการกระทำของคลื่นลม ซึ่งมีส่วนทำให้ภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและสามารถแบ่งตามลักษณะพื้นผิวของเกาะได้ 3 ส่วนคือ บริเวณที่เป็นภูเขาสูงชัน อยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะ ภูเขาส่วนใหญ่มีระดับความสูงมากกว่า 100 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ภูเขาเหล่านี้ประกอบด้วยหินแกรนิตอันเกิดจากแมกม่า ที่ถูกดันตัวขึ้นมาจากภายในโลก ไม่มีแนวตัดมากจึงคงทนต่อการผุกร่อนทำลาย บริเวณที่เป็นภูเขาสูงชันเหล่านี้ จะกินเนื้อที่มากกว่าบริเวณอื่นๆ มีลักษณะพืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้แถบร้อนชื้น เช่น บริเวณภูเขาตำบลกมลา ป่าตอง กะตะ กะรน เป็นต้น บริเวณที่เป็นลอนลูกคลื่น เป็นบริเวณอยู่ติดต่อกับบริเวณภูเขาสูงชัน ส่วนใหญ่เป็นที่ราบต่ำระหว่างหุบเขาต่างๆ

บางส่วนจะเป็นหินแกรนิต รวมไปถึงหินชั้นและหินแปรด้วย บริเวณนี้จะมีทางน้ำไหลผ่านสามารถใช้ทำการเพาะปลูกได้ดี เช่น บริเวณบ้านบางทอง อำเภอกะทู้ บ้านตะเคียน บ้านลิพอน บ้านดอน อำเภอถลาง และบ้านฉลอง อำเภอเมือง เป็นต้น บริเวณที่ราบต่ำ ส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้ชายฝั่ง อันเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ คือ 1. เกิดจากการกัดเซาะและทับถมของตะกอนแม่น้ำลำธาร ที่ราบต่ำลักษณะนี้จะอยู่ตรงปากคลองหรือบริเวณหุบเขากว้าง ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนที่แม่น้ำพัดพามา

เกิดจากการกัดเซาะและการทับถมของตะกอนที่เกิดจากการกระทำของคลื่นลมที่ราบต่ำ ลักษณะนี้ส่วนใหญ่อยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะ นอกจากนี้ลมประจำถิ่นทางตะวันตกของเกาะ ยังมีอิทธิพลในการช่วยกัดเซาะ ทำให้ชายฝั่งตะวันตกของเกาะเป็นหาดทรายสีขาว เพราะเกิดการทับถมของทรายที่เป็นแร่คว็อทซ์ (Quartz) บางแห่งมีซากแตกหักของเปลือกหอยและปะการังปะปนอยู่ด้วย 3. เป็นผลกระทบอันเกิดจากน้ำขึ้นน้ำลง ทำให้เกิดเป็นที่ราบต่ำน้ำกร่อย ที่ราบต่ำลักษณะนี้จะพบบริเวณทางด้านตะวันออกของเกาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ดินตะกอนถูกพัดมาทับถมกันมากในบริเวณนี้ จึงทำให้เกิดป่าชายเลนหนาแน่น เพราะทางด้านตะวันออกของเกาะเป็นเขตลมสงบกว่าทางด้านตะวันตก ลักษณะภูมิประเทศ แถบนี้จึงเป็นเขตของความอุดมสมบูรณ์ทางทะเล

ลักษณะทางธรณีวิทยา สภาพทางธรณีวิทยาของเกาะภูเก็ตประกอบด้วย ชุดหิน 3 ชุด ได้แก่ หินชุดภูเก็ต ประกอบด้วยหินชั้นและหินแปร ประกอบด้วย หินโคลนปนกรวด หินดินดาน หินชนวน และหินทราย

บางครั้งจะพบหินแกรนิตแทรกสลับอยู่บางส่วน หินชุดนี้จะพบเป็นแนวยาวขนานไปกับชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ คลุมพื้นที่ 1 ใน 3 ของพื้นที่เกาะ หินอัคนี หินอัคนีที่พบบนเกาะภูเก็ตเป็นหินแกรนิต คลุมพื้นที่ 2 ใน 3 ของเกาะ วางตัวอยู่ในแนวเหนือใต้ขนานกับรอยเลื่อน และแทรกดันตัวอยู่ในหินชุดภูเก็ต ได้แก่ เนินเขาต่าง ๆ ซึ่งพบทางตอนเหนือ ทางตะวันตก และตอนกลางของเกาะ หินแกรนิตที่พบในภูเก็ตประกอบด้วย ชุดเขาพระแทวแกรนิต ชุดหาด กะตะแกรนิต ชุดหาดในทอนแกรนิต ชุดเขาโต๊ะแซะแกรนิต ชุดเขารังแกรนิต หินตะกอน ทางด้านตะวันออกและตอนกลางของเกาะ เป็นที่ราบต่ำที่ถูกทับถมโดยตะกอนดิน

ซึ่งบางส่วนเกิดจากการทับถมโดยการกระทำของลำธาร และบริเวณชายหาดโดยการกระทำของคลื่นลม โดยเฉพาะทางตะวันออกที่เป็นที่ราบต่ำ การทับถมโดยโคลนเลน ในระบบป่าชายเลน ลักษณะภูมิอากาศ จังหวัดภูเก็ตอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุม ทำให้อากาศชุ่มชื้นตลอดปี มี 2 ฤดู คือ ฤดูฝน และฤดูร้อน ภูเก็ตได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ฝนตกตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน จนถึงเดือนพฤศจิกายน และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกชุกระหว่างเดือนธันวาคม – เดือนมีนาคม ในปี พ.ศ. 2546 จังหวัดภูเก็ตมีปริมาณน้ำฝน เฉลี่ย 2,269.8 มิลลิเมตรต่อปี เดือนตุลาคมปี 2546 มีฝนตกมากที่สุด 658.6 มิลลิเมตร (ข้อมูลจากสถานีอุตุนิยมวิทยาภูเก็ต)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น