วัฒนธรรมทางภาษาภูเก็ต
ภาษาของภูเก็ตแตกต่างไปจากภาษาของภาคใต้ทั่วไป ทั้งในด้านสำเนียงของภาษาการใช้คำเรียกชื่อสิ่งของและสถานที่ต่าง ๆ เนื่องจากภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีคนหลายชาติหลายภาษาเข้ามามีอิทธิพลเหนือคนพื้นเมืองในภูเก็ต โดยเฉพาะคนจีนได้เข้ามาตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ เข้ามาตั้งเตาถลุงแร่ และพากันหลั่งไหลเข้ามาทำงาน และตั้งถิ่นฐานในภูเก็ตเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งเมืองภูเก็ตมีประชาชนชาวจีนมากกว่าชนพื้นเมืองเสียอีก (จากหลักฐานสมัยอยุธยา แฮมิลตันได้บันทึกเรื่องราวไว้เมื่อ พ.ศ.2243-2262 ตรงกับ ค.ศ.1700-1719 ว่าบ้านเมืองนี้ปกครองด้วยคนจีน กดขี่ขูดรีดประชาชน ประชาชนค่อนข้างยากจน มีความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ และค่อนข้างจะเฉื่อยชา) ฉะนั้นภาษาของชาวภูเก็ตจึงเป็นภาษาที่ใช้ทับศัพท์ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู ภาษาไทย และภาษาพื้นเมืองปะปนกันไปโดยตลอด และถือว่าเป็นภาษาเฉพาะตัวที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวภูเก็ตเท่านั้น เช่น
ภาษาท้องถิ่นภูเก็ต ปลาถ้ำ หาญตาย เบื้องขวด ดันพุง เคี่ยวใจ ลักซอก เหม็ดหลอ ถกหวัก เกลือเคย ไฟแกบ มีดแกะ รางราง หม่านิ้ง หอยขร่วน เหล็กไฟ ช้ำทอน ถั่วพรั่ง เหลว เอิดใจ เหล็กขูด เห็นดู หวังเหวิด กำดิง ชุ่น
คำยืมจากภาษาจีนฮกเกี้ยน จุ้ยก้าว เก้เปียะ เสียวโป๋ย ป๋าน ก่าโต้ อ่างอิ๋ว อี้เจ่ โฮเส่ เปาะเปี้ย ต่าวโฮ้ย อั่งหม้อเหลา ป่ายปั๋ว ก๋วยเตี๋ยว
คำยืมจากภาษาอังกฤษ ปลั๊ก ลอรี่ แย็ก หอน สิบปันหน๊า ปั๊ม
คำยืมจากภาษามลายู ชันชี บาหวั้ง เป๊ะ ปาเต๊ะ ตาเบ๊ะ รองเง็ง หล่องป้าง บ่านซ้าน โกปี้ โหล่ตี้ เส่ล้อง อ่าโป้ง ซับบุ๋น ต่อล้า ต๊าห่าน หงู่หนี้ โตหลง
ภาษาไทยผสมจีน เสาหล่อเต้ง ค่อใน หม่ำฉ่อ หมูต่าวอิ๋ว เชือกเกี่ยมฉ้าว อี่เจียะโก้ย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น