วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ศาสนาฮินดู

ศาสนาฮินดู

ศาสนาฮินดูในภูเก็ต
ศาสนาฮินดู

สำหรับ ชาวอินเดีย ที่อพยพเข้าตั้งถิ่นฐานในภูเก็ต ส่วนใหญ่เป็นชนผิวดำจากรัฐทางตอนใต้ เช่น รัฐทมิฬนาดู รัฐมัทราส และ บริเวณอ่าวเบงกอลคือบังกลาเทศในปัจจุบัน จากคำบอกเล่าของ นายเอ็ม วี ลู (นายห้างไพรัช สโตร์) ประธานมูลนิธิภูเก็ตตันดายูดาปานี ได้เล่าว่า ชาวอินเดียเข้ามาตั้งถิ่นฐานในภูเก็ตประมาณปี ค.ศ.1940 เป็นกลุ่มเล็ก ๆ มาจากอินเดียโดยตรง อีกส่วนหนึ่งมาจากมาเลเซีย การนับถือศาสนาฮินดูในภูเก็ต นับถือกันเฉพาะคนฮินดูเท่านั้น เมื่อมีการอพยพผู้คนเข้ามามากขึ้นจึงจัดให้มีวัดฮินดูบริเวณแถวน้ำ (ถนนเทพกระษัตรี) เป็นห้องแถวไม้ ต่อมาชาวฮินดูได้รวบรวมเงินบริจาคเพื่อสร้างวัดแห่งใหม่ที่กว้างขวางกว่าเดิม นายจินนายา เจ๊ะตี ผู้ประกอบอาชีพเงินกู้และรับซื้อเศษเหล็ก มีฐานะดี เป็ยผู้ที่ทั้งชาวอินเดียและชาวภูเก็ตไว้วางใจในการนำเงินมาฝากและขอกู้เงิน ในสมัยนั้นการธนาคารในภูเก็ตไม่แพร่หลาย มีธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์เพียงแห่งเดียว เงินจำนวนหนึ่งของนายจินนายารวมกับเงินบริจาคได้นำไปซื้อที่ดินบริเวณถนนสุทัศน์ เป็นสถานที่สร้างวัดฮินดูตันดายูดาปานีในปัจจุบัน วัดฮินดูแห่งนี้นับถือ พระพิฆเนศ,พระขันฑกุมาร,พระลักษมี

ชาวฮินดูในภูเก็ตส่วนใหญ่เป็นลูกผสมที่เกิดจากแม่ที่เป็นคนท้องถิ่น ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับศาสนาฮินดูมานัก ส่วนมหญ่จะหันมานับถือศาสนาพุทธมากขึ้น ทำให้ขาดผู้สืบทอด ไม่สามารถอ่านคัมภีร์ทางศาสนาได้ ความซาบซึ้งในศาสนาพุทธลดลง ประธานมูลนิธิคือ นายเอ็ม วี ลู เป็นผู้นำสวดและประกอบพิธีกรรมทางศาสนาตลอดจนให้ความอุปการะแก่วัดมาโดยตลอด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น