วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เมืองถลางสมัยกรุงศรีอยุธยา

เมืองถลางสมัยกรุงศรีอยุธยา

เมืองถลางสมัยกรุงศรีอยุธยา
เมืองถลางสมัยกรุงศรีอยุธยา

ประมาณปี พ.ศ.1883 ทางใต้ของอาณาจักรสุโขทัย คือ กรุงศรีอยุธยา ได้เจริญขึ้นจนสามารถเข้าไปมีอำนาจเหนือสุโขทัย บรรดาเมืองขึ้นต่างๆ ของสุโขทัยจึงอยู่ในการปกครองของกรุงศรีอยุธยา รวมทั้งหัวเมืองปักษ์ใต้ทั้งหมด จนถึงสมัยของ สมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ.2148-2153) ปรากฏชื่อเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง เมืองถลาง เป็นหัวเมืองขึ้นกับฝ่ายกลาโหมทั้งสามเมือง นั่นแสดงว่าเมืองถลางจะต้องมีเจ้าเมืองซึ่งได้รับแต่งตั้งจากกรุงศรีอยุธยา ตามระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยนั้น

ในปี พ.ศ. 2169 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม อนุญาตให้ชาวฮอลันดาสร้างสถานีการค้ารับซื้อแร่ดีบุกที่ภูเก็ตอีกด้วย การค้าแร่ดีบุกที่ภูเก็ต สร้างความร่ำรวยให้ฮอลันดาอย่างมาก แต่เนื่องจากฮอลันดาพยายามที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากชาวเมืองมากเกินไป ทำให้ชาวเมืองรวมตัวกับพวกมลายู ฆ่าฟันชาวฮอลันดาจนเกือบหมดสิ้น เมื่อปี พ.ศ. 2228 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้อนุญาตให้บริษัทฝรั่งเศสมาผูกขาดการค้าแร่ดีบุกในเมืองภูเก็ตแต่เพียงผู้เดียว จากบันทึกของ พันเอก เจรินี เขียนไว้ในเค้าเงื่อนประวัติศาสตร์เกาะถลางว่า

ชาร์บอนโน (Re’ne Charbonneau) ได้เดินทางมาถึงประเทศไทย ค.ศ.1677 (พ.ศ.2220) ได้ทำงานในโรงพยาบาลที่พระมหากษัตริย์ไทยเป็นผู้สร้างขึ้นประมาณ ค.ศ.1681-1686 (พ.ศ.2224-2229) พระมหากษัตริย์ไทยทรงแต่งตั้งให้ชาร์บอนโนเป็นเจ้าเมืองถลาง

การที่ชาวฝรั่งเศสได้เป็นเจ้าเมืองถลางนี้ เป็นการแสดงให้เห็นว่า อำนาจของฝรั่งเศสนั้นมีมากกว่าประเทศยุโรปอื่นๆ ในปี พ.ศ.2230 มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ราชฑูตฝรั่งเศสได้กล่าวถึงการมาตั้งห้างรับซื้อแร่ดีบุกที่เมืองถลางบางคลี

หลังจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จสวรรคต สมเด็จพระเทพราชาไม่พอใจชาวฝรั่งเศส และให้ขับออกจากเมืองเป็นจำนวนมาก

จากหลักฐานที่ปรากฏในประชุมพงศาวดารฉบับต่างๆ พอจะกล่าวได้ว่า เมืองถลางเป็นเมืองที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในฐานะเมืองที่อุดมไปด้วยแร่ดีบุกตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงเสียงกรุงครั้งที่ 2 (พ.ศ.2310) หลังจากเสียกรุงเมืองถลางก็ขึ้นตรงต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น