วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ศาสนาพุทธ

ศาสนาพุทธ

ศาสนาพุทธ
ศาสนาพุทธ

ในด้านพระพุทธศาสนา ตามข้อสันนิษฐานของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกล่าวว่า พระพุทธศาสนาประดิษฐานในประเทศไทยราวปี พ.ศ.500 อาณาจักรแรกที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา คือ อาณาจักรทวาราวดี ชนพื้นเมืองที่ยอมรับนับถือศาสนานี้ คือ ขอม มอญ ละว้า ส่วนดินแดนทางภาคใต้นั้น ในระยะที่อาณาจักรศรีวิชัยเรืองอำนาจ ราวปี พ.ศ.1300 ได้เข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้ และได้นำเอาพระพุทธศาสนานิกายมหายานเข้ามาเผยแพร่ หลักฐานคือ พระบรมธาตุไชยาและพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช เป็นศิลปะศรีวิชัยมาก่อน ต่อมาในราว พ.ศ.1800  ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย พระภิกษุไทยซึ่งได้รับการศึกษาจากประเทศลังกาได้กลับมาเผยแผ่ศาสนาพุทธหินยาน และได้สร้างพระมหาธาตุเจดีย์ครอบเจดีย์สมัยศรีวิชัย ซึ่งเป็นสถูปแบบลังกา พระพุทธศาสนาหินยานเจริญรุ่งเรืองในดินแดนภาคใต้อย่างรวดเร็ว จนถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาที่นครศรีธรรมราช จึงได้อารธนาพระเถระจากนครศรีธรรมราชไปเผยแผ่ศาสนาที่กรุงสุโขทัย

สำหรับจังหวัดภูเก็ต ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเจริญรุ่งเรืองนั้น ชาวภูเก็ตรุ่นแรก ๆ คงนับถือเทพ นับถือผี วิญญาณ เวทมนต์คาถา มาก่อน ต่อมาเมื่อศาสนาพุทธได้เข้ามามีอิทธิพลในดินแดนนี้ ชาวพื้นเมืองจึงนำความเชื่อของศาสนาพุทธผสมผสานกับความเชื่อเดิม ฉะนั้น ชาวพุทธในภูเก็ต จึงมรความเชื่อในอิทธิฤทธิ์ของพระนารายณ์ พระพรหม พระอิศวร ในขณะเดียวกันก็นับถือเซียนองค์ต่าง ๆ ที่มีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ และไปวัดเมื่อถึงเทศกาลหรือประเพณีสำคัญ ๆ ทางพระพุทธศาสนา หิ้งพระของชาวภูเก็ตจึงประกอบด้วยพระพุทธรูปปุ้นเถ้ากง เซียนองค์สำคัญที่ตนนับถือ เจ้าแม่กวนอิม จะเป็นเช่นนี้ทุกบ้าน ยกเว้นบ้านที่เป็นคนไทยแท้จึงจะมีพระพุทธรูปเพียงอย่างเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น