วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เมืองถลางบางโรง

เมืองถลางบางโรง

เมืองถลางบางโรง
เมืองถลางบางโรง

เมืองถลางบางโรงตั้งอยู่ที่บ้านบางโรง หมู่ที่ 3 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จากการสำรวจของนายสมหมาย ปิ่นพุทธศิลป์ และคณะ “กลุ่มผู้สนใจประวัติศาสตร์เมืองภูเก็จ” ได้ทำการสำรวจเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2524 สิ่งที่พบคือ แร่แทนทาไลท์ บริเวณท่าเรือ ซากตึกปูนปนหินปะการัง สระน้ำพระยาถลาง (คิน) แนวกำแพงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แนวกำแพงทิศเหนือและทิศใต้ยาวประมาณ 120 เมตร แนวกำแพงส่วนใหญ่ถูกทำลาย

เจ้าของที่ดินในปัจจุบันบริเวณนั้น คือ นายดลเล๊าะ ท่อทิพย์ พบเหรียญต่างประเทศในบริเวณกำแพง เช่น เหรียญอีสต์อินเดียคอมปานี ค.ศ.1804 ตรงกับ พ.ศ.2347 สมัยรัชกาลที่ 2 ชาวบ้านบางโรงเรียกชื่อเจ้าของที่ดินภายในกำแพงว่า “เจ้าคุณถลางคิน” ซึ่งเป็นเจ้าเมืองถลางบางโรงระหว่าง พ.ศ.2405-2422 (ตอนปลายรัชกาลที่ 4) บริเวณนี้มีท่าเรือ 3 แห่ง คือ ท่าเรือหลังกำแพง ท่าเรือท่าตลาด หรือท่าเรือต้นโด (ประดู่) และท่าเรือหลังตึก ทางด้านทิศใต้ของสระน้ำมีร่องรอยการถลุงแร่ดีบุก พบขี้ตะกรันบริเวณท่าเรือทั้ง 3 แห่ง ดังปรากฏข้อความในป้ายบันทึกประวัติศาสตร์เมืองถลางบางโรงว่า

เมืองถลางบางโรง บริเวณนี้มีกำแพงล้อมรอบ เนื้อที่กว้าง 80 เมตร ยาว 120 เมตร ทิศใต้มีสระน้ำ ทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นท่าเรือ เดิมเป็นเมืองถลางบางโรง พระยาณรงค์เรืองฤทธิ์ประสิทธิสงคราม (ทับ จันทโรจวงศ์) เป็นเจ้าเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2391-2405 พระยาถลางคิน (บุตรพระยาถลางทับ) เป็นเจ้าเมืองตั้งแต่ พ.ศ.2405-2412 และพระยาถลางเกต (น้องชายพระยาถลางคิน) เป็นเจ้าเมืองตั้งแต่ พ.ศ.2412-2433

เนื่องในโอกาส 200 ปี วีรสตรีเมืองถลาง นายดลเล๊าะ ท่อทิพย์ ได้บริจาคที่ดินในบริเวณดังกล่าว จำนวน 616 ตารางเมตร เพื่อสร้างป้ายเมืองถลางบางโรง มีภาพปูนปั้นนูนต่ำ เป็นรูปคนกำลังแบกถุงบรรจุแร่ดีบุกลงเรือใบสามหลัก มีรูปช้าง มีบ้านเรือนผู้คนและชาวนากำลังไถนา มีข้อความเป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น