พระยาวิชิตสงคราม (ทัต)
พระวิชิตสงคราม (ทัต) เป็นบุตรของ พระยาภูเก็ตโลหะเกษตรารักษ์ (แก้ว) เดิมรับราชการเป็นกรมการเมืองถลาง แล้วออกจากเมืองถลางมาทำแร่ดีบุกที่บ้านเก็ตโฮ่ต่อจากบิดา และได้ขยายกิจการการทำเหมืองแร่ดีบุกมาตามลำน้ำคลองบางใหญ่จนถึงบ้านทุ่งคา เมื่อบ้านทุ่งคาเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น ประชาชนอพยพมาอยู่อย่างคับคั่ง จึงจัดตั้งเมืองภูเก็ตเป็นเมืองใหญ่แทนเมืองเก่าที่บ้านกะทู้ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ พระภูเก็ต (ทัต) เป็นพระยาภูเก็ตโลหะเกษตรารักษ์ (ทัต) เจ้าเมืองภูเก็ต แทนบิดาซึ่งถึงแก่กรรมพระยาวิชิตสงคราม (ทัต) เป็นผู้ที่สนับสนุนให้ชาวจีนจากปีนังและสิงคโปร์เข้ามาลงทุนขุดหาแร่ดีบุกในเมืองภูเก็ต นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่บ้านเมืองมากกว่าสมัยใดๆ เมืองภูเก็ตกลายเป็นเมืองค้าดีบุกที่คึกคัก หนาแน่นไปด้วยผู้คน เศรษฐกิจคล่องตัว เมื่อชราลงได้สนับสนุนให้บุตรชายชื่อ ลำดวน รับช่วงการดำเนินงานต่อมาในตำแหน่งเจ้าเมือง สืบทอดภาษีอากร และผูกขาดการทำแร่ดีบุกแทน
พระยาวิชิตสงคราม (ทัต) ถึงแก่กรรมเมื่อปี พ.ศ. 2421 หลังจากนั้นอีก 37 ปี พระรัตนดิลก (เดช) น้องชายต่างมารดาคนสุดท้องของ พระยาวิชิตสงคราม (ทัต) ได้รับพระราชทานนามสกุล “รัตนดิลก” จากรัชกาลที่ 6 ในปี พ.ศ. 2458 และได้รับพระราชทานนามสกุลต่อท้ายว่า “ณ ภูเก็ต” ในปี พ.ศ. 2459 ดังนั้นพระรัตนดิลก (เดช) จึงเป็นต้นสกุล “รัตนดิลก ณ ภูเก็ต” ตั้งแต่นั้นมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น